ก้าวสู่ยุคใหม่ ประเมินมูลค่าแบรนด์ไทย เพื่อก้าวไกลสู่สากล

ก้าวสู่ยุคใหม่ ประเมินมูลค่าแบรนด์ไทย เพื่อก้าวไกลสู่สากล

ก้าวสู่ยุคใหม่ ประเมินมูลค่าแบรนด์ไทย เพื่อก้าวไกลสู่สากล

โดยคุณอุดมศรี นาทีกาญจนลาภ
(กรรมการผู้จัดการ)
บริษัท ยูเค แวลูเอชั่น แอนด์ เอเจนซี่ จำกัด

ช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้บุกเบิกบริการทางด้าน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual Property/IP)และทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangible Assets)ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เกิดข้อค้นพบว่า เจ้าของกิจการที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า(แบรนด์) ที่มีชื่อเสียง (Well-known Marks) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ที่มีความต้องการทราบว่ามูลค่าเครื่องหมายการค้าของตนมี “มูลค่ายุติธรรม”เป็นเท่าใด ทั้งนี้เพื่อนำไปประกอบวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เพื่อทดสอบการด้อยค่า (ตามมาตรฐานการบัญชี) เพื่อประกอบค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ (Licensing Fee) เพื่อประกอบการร่วมทุน เพื่อประกอบการซื้อขายเปลี่ยนมือ เพื่อประกอบการฟ้องร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ฯ และที่สำคัญหลายรายเตรียมการณ์เพื่อก้าวเข้าสู่การค้าข้ามชาติในยุค AEC (Asian Economic Community)

มูลค่าของเครื่องหมายการค้าที่ใช้กำกับสินค้าหรือบริการจะแตกต่างไปตามประเภทธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ส่วนแบ่งการตลาด กำไรจากการดำเนินงาน ความมีเสถียรภาพของเครื่องหมายการค้า การปกป้องเครื่องหมายการค้าจากการลอกเลียนแบบ หรือ การมีกิจกรรมทางการตลาดอย่างสม่ำเสมอในการส่งเสริม และการสนับสนุนให้เครื่องหมายการค้ามีคุณค่ามั่นคงตลอดไป (Brand Equity) ดังตัวอย่างเครื่องหมายการค้ารายสำคัญของไทยดังต่อไปนี้

(1) แบรนด์ Café Amazon ใช้กำกับร้านกาแฟที่จำหน่ายกาแฟสดคั่วบดภายในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่มีสาขาทั่วประเทศกว่า 800 แห่ง ด้วยรสชาติกาแฟ ราคา บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริการที่มีมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้ Café Amazon เป็นแบรนด์ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีและมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี ส่งผลให้คุณค่าของเครื่องหมายการค้าหรือตราสินค้า (Brand Equity) และมูลค่ายุติธรรมของเครื่องหมายการค้าหรือตราสินค้า (Brand Value) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งไทยและเทศที่จะติดต่อทาบทามให้ไปร่วมลงทุนต่างประเทศในแถบอาเซียนและภูมิภาคใกล้เคียง ในช่วงเวลาที่ยุค AEC กำลังจะเริ่มศักราชในอนาคตอันใกล้



(2) แบรนด์ Black Canyon ใช้กำกับร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้า โมเดิร์นเทรด สถานีบริการน้ำมัน สนามบินพาณิชย์ และประเทศในแถบเอเชียกว่า 8 ประเทศ ส่งผลให้มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ Black Canyon มีรายได้จากการขอใช้เครื่องหมายการค้า Black Canyon ของร้านแฟรนไชส์ (Licensing Fee) เป็นจำนวนค่อนข้างสูง นับเป็นตัวอย่างที่ดีของตราสินค้าไทยในการสร้างคุณค่าของเครื่องหมายการค้าหรือตราสินค้า (Brand Equity) ให้ติดตลาดได้ ดังนั้นเมื่อมีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเครื่องหมายการค้าหรือตราสินค้า (Brand Value) ของ Black Canyon ทำให้ทราบได้ว่ามีมูลค่าไม่น้อยและเป็นแบรนด์ไทยที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้เช่นกัน

(3) แบรนด์ Samchai ใช้กำกับท่อโลหะ ที่มีชื่อเสียงมาช้านานในแวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง จนถูกมิจฉาชีพลอกเลียนเครื่องหมายการค้า Samchai ทำให้ยอดขายท่อโลหะ Samchai ที่เคยจำหน่ายได้รับความกระทบกระเทือน ซึ่งต่อมาเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าขาดรายได้แก่ผู้ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ได้มีการประเมิน “ค่าเสียหายในเชิงเศรษฐกิจ” (Economic Damages) ให้กับเจ้าของแบรนด์ดังกล่าว เพื่อเป็นคดีตัวอย่างต่อไปในอนาคต

นอกจากตัวอย่างข้างต้น ยังมีตัวอย่างแบรนด์อีกหลายรายที่ได้ดำเนินการประเมินมูลค่ายุติธรรมเครื่องหมายการค้าเพื่อขายหรือโอนให้กับบริษัทย่อย หรือบริษัทโฮลดิ้งส์ (Holding Company)ให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้ทำการบันทึกมูลค่ายุติธรรมของเครื่องหมายการค้าลงในงบดุล (Balance Sheet) ของกิจการในหมวดของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการบัญชี ทำให้กิจการมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นที่นอกเหนือจากสินทรัพย์มีตัวตน และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือหรือความเชื่อมั่นให้กับหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น และผู้บริโภคเป็นประการสำคัญ อาทิเช่น แบรนด์ CTVDOLL

(4) แบรนด์ CTVDOLL ใช้กำกับสินค้ากลุ่มรถบรรทุกหนัก เป็นแบรนด์ที่ถือกำเนิดจากผู้บุกเบิกตลาดรถบรรทุกรายแรกของประเทศไทย คือ บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซี่ยน จำกัด (มหาชน) ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บริหารจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อการรองรับระบบ Logistic ที่กำลังเติบโตทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการสร้างนวัตกรรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ฯ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากสายการบินระดับนานาชาติ คือ การออกแบบและผลิตรถลำเลียงอาหารขึ้นเครื่องบินสำหรับเครื่องบินแอร์บัส A308ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน

ดังนั้น ในยุคที่เศรษฐกิจโลกโดยรวมแม้จะตกต่ำหรือซบเซา แต่สินค้าแบรนด์ไทยกลับมีอนาคตสวนทางกับทิศทางดังกล่าว อันเนื่องจากปัจจุบันภาพรวมของอาเซียนและชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ยังคงมีแนวโน้มที่มีการเจริญเติบโตได้ดีอยู่ การเข้าสู่ยุคใหม่ของแบรนด์ไทยจึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสากลด้วยการ “ประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา” ดังกล่าวด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังเช่นที่ชาติเศรษฐกิจชั้นนำทั้งหลายได้ถือปฎิบัติกันมาช้านาน

ประเมินมูลค่าทรัพย์สินมีตัวตน ประเมินมูลค่าอาคาร ประเมินมูลค่าที่ดิน ประเมินราคาค่าเช่า ประเมินมูลค่ายานพาหนะ ประเมินมูลค่ากิจการ การปันส่วนราคาซื้อ ประเมินมูลค่าทรัพย์สินไม่มีตัวตน ประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา ประเมินมูลค่าแบรนด์ ประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้า ประเมินมูลค่าความสัมพันธ์ลูกค้า ประเมินมูลค่าฐานลูกค้า ประเมินมูลค่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ประเมินมูลค่าสัญญา ประเมินมูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้ ประเมินมูลค่าสัญญาเช่า ประเมินมูลค่าโดเมนเนม ประเมินมูลค่าอุปกรณ์ tangible assets valuation building valuation land valuation equipment valuation machinery valuation intangible assets valuation enterprise valuation business enterprise valuation purchase price allocation ppa ifrs3 ifrs16 rou valuation right of use valuation patent valuation petty patent valuation software valuation copyright valuation customer relationship valuation customer base valuation
Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy