รายละเอียดเกี่ยวกับ ทรัพย์สินไม่มีตัวตน
 

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้ (Identifiable Non-Monetary Assets) และไม่มีรูปธรรม (Non-Physical Substance) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน (ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 15 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้ให้คำนิยาม ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขการรับรู้ และวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูลสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน)


คุณสมบัติของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยามที่ระบุไว้ ต้องมีครบทั้ง 3 ประการ ดังนี้

  • ต้องสามารถระบุได้ (Identifiability) หมายความว่า กิจการสามารถนำประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่เฉพาะเจาะจงของสินทรัพย์นั้น ไปให้เช่า ขาย แลกเปลี่ยน หรือแจกจ่ายโดยไม่กระทบกับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์อื่นที่ ใช้ร่วมกันในการก่อให้เกิดรายได้และต้องสามารถระบุแยกจากค่ความนิยมได้อย่าง ชัดเจน
  • ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ (Control over a Resource) สินทรัพย์ที่จะถือว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการนั้น เมื่อกิจการมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะเกิดจาก สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น และสามารถจำกัดมิให้ผู้อื่นเข้าถึงประโยชน์ดังกล่าว ได้
  • ต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (Existence of Future Economic Benefits) ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่กิจการจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น อาจรวมถึงรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการ ต้นทุนที่สามารถประหยัดลงได้ หรือประโยชน์อื่นใดอันเกิดจากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน นั้นๆ

 

การรับรู้ และการวัดค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

กิจการสามารถรับรู้รายการใดรายการหนึ่ง เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ ก็ต่อเมื่อรายการนั้นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้

เงื่อนไขที่ 1 - รายการนั้นเป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ

เงื่อนไขที่ 2 - เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ ดังนี้

  • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่กิจการ จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะเกิดจากสินทรัพย์นั้น และ
  • ราคาทุนของสินทรัพย์นั้น สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชือถือ



ลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ลักษณะ ดังนี้

1. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก
ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย (1) ราคาซื้อ (ซึ่งรวมถึง ค่าภาษีนำเข้า และภาษีซื้อที่ไม่อาจเรียกคืนได้) และ (2) รายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเตรียมสินทรัพย์ให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้ ตามประสงค์ เช่น ค่าธรรมเนียมวิชาชีพทางกฎหมาย กิจการต้องนำส่วนลดการค้า และจำนวนที่รับคืนไปหักเพื่อคำนวณราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัว ตน

2. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาพร้อมกับการรวม ธุรกิจ
มาตรฐานการบัยชีฉบับที่ 43 เรื่อง การรวมธุรกิจ กำหนดว่า หากกิจการต้องกำหนดราคาทุนทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากธุรกิจที่เป็นการซื้อ ณ วันที่ซื้อธุรกิจ กิจการต้องกำหนดราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นตามเกณฑ์มูลค่ายุติธรรม โดยราคาตลาดที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนของตลาดซื้อขายคล่อง ถือเป็นตัวแทนที่น่าเชื่อถือที่สุดของมูลค่ายุติธรรม ราคาตลาดที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้คือ ราคาเสนอซื้อปัจจุบัน หากไม่มีราคาเสนอซื้อปัจจุบัน กิจการอาจใช้ราคาซื้อขายล่าสุดของรายการที่คล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการ ประมาณมูลค่ายุติธรรม หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างวันที่มีการ ซื้อขายครั้งล่าสุด กับวันที่ทำการประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์นั้น หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นๆ ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องมารองรับ ราคาทุนของสินทรัพย์ต้องสะท้อนถึงจำนวนที่กิจการควรต้องจ่าย ณ วันที่ซื้อสินทรัพย์ สำหรับการแลกเปลี่ยนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้ เต้มใจและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความ เกี่ยวข้องกันโดยอาศัยข้อมูลที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนั้น ในการกำหนดจำนวนดังกล่าวกิจการต้องพิจารณาถึงราคาที่ตกลงกันของรายการซื้อ ขายล่าสุดของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน

3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากการอุดหนุนของ รัฐบาล
กิจการสามารถเลือกที่จะรับรู้ ทั้งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและเงินอุดหนุนเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม ในกรณีที่กิจการเลือกจะไม่รับรู้สินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ด้วยจำนวนที่จ่าย แต่ในนาม แล้วบวกกับรายจ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้นในการจัดเตรียมสินทรัพย์นั้น ให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้ตามความ ประสงค์

4. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากการแลก เปลี่ยน
ในกรณีที่กิจการได้มา ซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทั้งหมดหรือบางส่วน จากการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่คล้ายคลึงกัน กิจการต้องวัดมูลค่าราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มา ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลก ทำการปรับปรุงด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการต้องโอน หรือรับโอนอันเนื่องจากการแลกเปลี่ยน ในกรณีที่กิจการได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน จากการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ายุติธรรมใกล้เคียงกัน และมีประโยชน์ใช้สอยแบบเดียวกันในธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือกิจการอาจขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับส่วนได้เสียในส่วนทุนของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน กิจการต้องไม่รับรู้รายการกำไร หรือขาดทุนจากรายการบัญชีดังกล่าว เนื่องจากกระบวนการก่อให้เกิดรายได้ของสินทรัพย์นั้น ถือว่ายังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นกิจการต้องบันทึกราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยราคาตามบัญชีของ สินทรัพย์ที่โอนไป อย่างไรก็ตาม มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้รับมาอาจเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า สินทรัพย์ที่โอนไปเกิดการด้อยค่า (Impairment) ก่อนที่จะโอน ในกรณีดังกล่าวกิจการต้องรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ โอนไป และต้องนำราคาตามบัญชีหลังจากที่หักค่าเผื่อการด้อยค่าแล้ว ถือเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ใหม่

5. ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 ระบุว่า กิจการต้องไม่รับรู้ค่าความนิยม (Goodwill) ที่เกิดขึ้นภายในเป็นสินทรัพย์

6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน
ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน ประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงทุกรายการที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ ผลิต และจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ของกิจการ นอกจากนี้ กิจการต้องไม่รับรู้รายการที่กิจการก่อให้เกิดขึ้นภายใน เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือ ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่โดยเนื้อหาแล้วคล้ายคลึงกันเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

การที่ทรัพย์สินไม่มีตัวตนจะมีมูลค่าก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาตัวของทรัพย์สินนั้นควบคู่ไปกับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดมูลค่าขึ้นมาเสมอ โดยที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด หากมีความพยายามในการแยกออกจากกันขึ้น ย่อมทำให้ตัวทรัพย์สินไม่มีตัวตนนั้นไม่มีมูลค่าแต่อย่างใด ดังตัวอย่างนี้

  • มูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตนบางอย่าง จะขึ้นกับกลยุทธ์การตลาดของกิจการ
  • มูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตนบางอย่าง จะขึ้นกับจำนวนลูกค้าของกิจการ
  • มูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตนบางอย่าง จะขึ้นกับกิจการประเภทต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้านงานศิลปะ
  • มูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตนบางอย่าง จะขึ้นกับประเภทของกิจการที่ต้องได้รับสัมปทานในโครงการต่างๆ
  • มูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตนบางอย่าง จะขึ้นกับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องของกิจการนั้นๆ

 

การวัดมูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตน

ประเด็นที่จะต้องทำการพิจารณาอย่างรอบคอบ หากเกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นกว่าเดิม อันเนื่องมาจากความต้องการผลตอบแทนของนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มขึ้นนั่นเอง ทรัพย์สินไม่มีตัวตนบางอย่างกลับจะมีความเสี่ยงมากกว่าทรัพย์สินที่มีตัวตน โดยที่มีอัตราผลตอบแทนเกือบจะเท่ากับหรือมากกว่าอัตราคิดลดเสียด้วยซ้ำ

หลักโดยทั่วไปในกรรมวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Valuation Method of Intangible Assets) คือ การกำหนดอัตราผลตอบแทนและ อัตราความเสี่ยงในการการประเมินมูลค่าตลาดของทรัพย์สินไม่มีตัวตน โดยวิธีการคิดรายได้ (Income Approach) ดังต่อไปนี้
เมื่อ สมการ

  • V = I/R
  • V = มูลค่าของทรัพย์สินไม่มีตัวตน
  • R = อัตราผลตอบแทน
  • I = กระแสเงินสดสุทธิที่เกิดจากทรัพย์สินไม่มีตัวตน


อัตราคิดลดสำหรับทรัพย์สินไม่มีตัวตน การคำนวณมูลค่าปัจจุบันมี 5 ประเด็นที่ต้องพิจารณา

  • การคาดคะเนกระแสเงินสดในอนาคต
  • ความแปรผันของจำนวนหรือระยะเวลาแต่ละกระแสเงินสด
  • อัตราดอกเบี้ยที่ปลอดความเสี่ยง (Risk Free Rate)
  • ราคาของทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีความไม่แน่นอนสูง
  • อื่นๆ เช่น การขาดสภาพคล่อง สภาพตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์


การคำนวณกระแสเงินสดในอนาคตสำหรับทรัพย์สินไม่มีตัวตนนั้นจะขึ้นกับความเสี่ยงในหลายๆกรณีดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงกับการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ดังต่อไปนี้

  • กรณีของความเสี่ยงในของเรื่องระยะเวลาในการผลิตสินค้าเพื่อออกสู่ตลาด
  • กรณีของความเสี่ยงในเรื่องของการสร้างการยอมรับของตลาดและการยอมรับจากลูกค้า
  • กรณีความเสี่ยงที่เกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
  • กรณีที่การดำเนินธุรกิจของกิจการจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแล
  • กรณีที่เกิดการตอบโต้ทางการค้าจากคู่แข่งทางธุรกิจ
  • กรณีที่ขึ้นกับราคาสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งผลประกอบการที่ดีของกิจการ



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้