ธุรกิจแก๊สหุงต้ม ถือว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วต้องอาศัยแก๊สหุงต้มเป็นเชื่อเพลิงในการทำอาหาร แก๊สหุงต้มจึงนับได้ว่าเป็นสินค้าที่จำเป็นในการใช้ชิวิตประจำวัน เป็นสินค้าที่ขายง่าย ขายได้ทุกวัน ไม่ตกรุ่น และไม่เน่าเสีย ธุรกิจแก๊สหุงต้ม ถ้ามองในแง่ของผู้ประกอบการแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) ธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG และ (2) ธุรกิจร้านค้าแก๊ส
น้ำมันพืชเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการประกอบอาหารของแม่บ้านหรือร้านค้า ในปี 2554 น้ำมันพืชมีมูลค่าตลาดประมาณ 25,000 ล้านบาท โดย น้ำมันปาล์ม ครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ประมาณร้อยละ 65 รองลงมาคือ น้ำมันถั่วเหลือง ร้อยละ 25 น้ำมันรำข้าว ร้อยละ 7 และน้ำมันชนิดอื่นๆ อีกร้อยละ 3 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่แล้ว น้ำมันปาล์มเหมาะสำหรับอาหารประเภททอด น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันชนิดอื่นเหมาะสำหรับอาหารประเภทผัด
ปัจจุบันเทรนด์การรักษาและห่วงใยสุขภาพยังคงได้รับความนิยมสูงขึ้น ทั้งมิได้จำกัดแค่กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคนทำงานเท่านั้น กลุ่มผู้มีอายุน้อยที่ยังไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพก็ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญ ในข้อนี้ ทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ รวมถึงน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ในปี 2554 ที่ผ่านมา ตลาดน้ำผลไม้พร้อมดื่ม มีมูลค่ามากกว่า 9,600 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักๆ คือ (1) น้ำผลไม้ระดับพรีเมี่ยม ประมาณ 4,000 ล้านบาท (2) น้ำผลไม้ระดับมีเดียม ประมาณ 600 ล้านบาท (3) น้ำผลไม้ระดับอีโคโนมี่ ประมาณ 3,000 ล้านบาท และ (4) น้ำผลไม้ระดับซุปเปอร์อีโคโนมี่ ประมาณ 2,000 ล้านบาท
ช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้บุกเบิกบริการทางด้าน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) และทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangible Assets) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เกิดข้อค้นพบว่า เจ้าของกิจการที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (แบรนด์) ที่มีชื่อเสียง (Well-known Marks) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ที่มีความต้องการทราบว่ามูลค่าเครื่องหมายการค้าของตนมีมูลค่ายุติธรรมเป็นเท่าใด ทั้งนี้เพื่อนำไปประกอบวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เพื่อทดสอบการด้อยค่า (ตามมาตรฐานการบัญชี) เพื่อประกอบค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ (Licensing Fee)